สถิติ
เปิดเมื่อ19/10/2011
อัพเดท18/04/2024
ผู้เข้าชม5531985
แสดงหน้า7763782
สินค้า
บทความ
ทางเดินอาหาร
16 วิธีป้องกันท้องอืด จากโรคกรดไหลย้อนกลับ (GERD)
ภาวะกรดไหลย้อน
นม GTF
โรคลึกลับ CFS (Chronic fatigue syndrome หรือโรคอ่อนเพลียเรื้อรัง ) ยาแก้และวิธีแก้
อันเนื่องมาจากความหวาน อ่อนเพลียโดยไม่รู้สาเหตุ (ตอนที่ 4)
อันเนื่องมาจากความหวาน อ่อนเพลียโดยไม่รู้สาเหตุ(ตอนที่ 3)
อันเนื่องมากจากความหวาน อ่อนเพลียโดยไม่รู้สาเหตุ (ตอนที่ 2)
อันเนื่องมาจากความหวาน ระวัง! อ่อนเพลียโดยไม่รู้สาเหตุอย่านึกว่าเป็นเรื่องเล็ก(ตอนที่ 1)
การอนุญาตและการจดทะเบียนในประเะทศต่างๆ
สิทธิบัตรของนม GTF
สิทธิบัตรของนม GTF
นม GTF กับรูปร่างและผิวพรรณ
โรงพยาบาลที่ใช้ ผลิตภัณฑ์ GTF
รางวัลต่างๆ ของนม GTF
การวิจัยและพัฒนานม GTF
ทำไมคนรุ่นใหม่...ขาดสารอาหาร
คำแนะนำการบริโภคนม GTF
รายละเอียดนม GTF
ประโยชน์ที่ได้รับจากนม GTF
VDO ประสบการณ์ผู้ใช้ GTF
VDO รายละเอียด GTF ตอนที่ 1-5
นม GT&F ช่วยให้คุณควบคุมโรคเบาหวาน ได้อย่างไร..
ทำไมต้องนม GTF
มะเร็ง
ถั่วเหลืองกับมะเร็งเต้านม
การฟื้นฟูร่างกายหลังได้รับเคมีบำบัด
วิธีจัดการผลข้างเคียงจากเคมีบำบัด ตอนที่ 3
วิธีจัดการผลข้างเคียงจากเคมีบำบัด ตอนที่ 2
วิธีจัดการผลข้างเคียงจากเคมีบำบัด ตอนที่ 1
วิธีป้องกันการติดเชื้อระหว่างเคมีบำบัด
แอสตาแซนธิน (Astaxanthin)
สารอนุมูลอิสระ (Free Radicals) คืออะไร?
แอสตาแซนธิน : การลดความเมื่อยล้าของดวงตา
แอสตาแซนธิน : ความทนทานและการฟื้นตัวของกล้ามเนื้อ
แอสตาแซนธิน : สารต้านอนุมูลอิสระที่เหนือกว่า
“Astaxanthin” คืออะไร?
ผิวหนัง
ตำแหน่งสิวบอกอารมณ์และโรคได้
วิธีปราบสิว
โรคสะเก็ดเงินหรือโรคเรื้อนกวาง ( Psoriasis )
โรคผิวหนังอักเสบ (ECZEMA)
สิว และวิธีแก้ปัญหาเกี่ยวกับ สิว เบื้องต้น
บทความทั่วไป
10 ความจริงเกี่ยวกับตัวเรา... ที่คุณอาจไม่รู้
เคล็ดลับในการกินอาหารเสริม
NCD : โรควิถีชีวิต (Non – communicable Diseases - NCD)
NCD : โรควิถีชีวิต (Non – communicable Diseases - NCD)
5 ผลวิจัย พิชิตความเครียด
10 การเปลี่ยนแปลงของร่างกาย ที่บ่งบอกว่าคุณกำลังเป็นโรค…
พลังงานแม่เหล็กบำบัดโรค
เตือน “กินน้ำตาลเกินจำเป็น” โอกาสเกิดโรคแทรกง่ายขึ้น
18 สาเหตุ ทำให้ไม่มีเรี่ยวแรง + อ่อนเพลีย
การเสียชีวิตของนักกีฬาในสนามแข่งขัน
รู้ได้อย่างไรว่า...อ้วนลงพุง หรือ เป็น Metabolic syndrome
ไม่ขับถ่ายตอนเช้าจะเกิดอะไรขึ้น
การเลือกรับประทานอาหารเสริม วิตามิน และเกลือแร่
อาหารเสริม Co-Enzyme Q10 โคเอ็นไซม์ คิวเท็น คืออะไร
วิธีป้องกัน อาการภูมิแพ้
กินยาแก้อักเสบ (ยาปฏิชีวนะ) บ่อยๆ ทำให้เชื้อโรคดื้อยา รักษาไม่หาย
แครนเบอรรี่ Cranberry
การกอด มหัศจรรย์แห่งสัมผัส
โรคภูมิแพ้
อันตรายจากบุหรี่ และตัวช่วยล้างพิษจากบุหรี่
วิธีการดื่มน้ำที่ถูกวิธี
Bell Stem Cell Activator, 60 caps
เมลาโตนิน (Melatonin)
นาฬิกาชีวภาพ นาฬิกาชีวิต
กรดอะมิโนจำเป็น 9 ชนิด ที่ร่างกายสร้างขึ้นเองไม่ได้
อาหารธัญพืชปรุงพิเศษ
เบาหวาน
เรื่องหวานๆ กับยาเบาหวาน
ความดันโลหิตสูงในผู้ป่วยเบาหวาน
ภัยเงียบ....โรคหัวใจในผู้เป็นเบาหวาน
เลือดหนืดในโรคเบาหวาน
เลือดข้นกับโรคหัวใจ
เบาหวาน
การควบคุมอาหารในผู้ป่วยเบาหวาน
ทางเดินปัสสาวะ
Share โรคไตวายเรื้อรัง Chronic renal failure (CRF)
สาเหตุของโรคกระเพาะปัสสาวะอักเสบ (Cystitis) อาการของโรค และวิธีรักษา
การติดเชื้อในระบบทางเดินปัสสาวะ Urinary tract infections (UTI)
สมองและระบบประสาท
โคลีน
โคลีน ไบทาร์เทรต (Choline Bitartrate)
ใบบัวบก (Gotu Kola)
DMEA
cavinton หรือ vinpocetine
Neuro-ps บำรุงสมอง เพิ่มความจำ ลดความเครียด ช่วยเรื่องการนอนหลับ
ถาม-ตอบ เกี่ยวกับการใช้ Neuro-PS
Neuro-PS บำรุงสมอง,เสริมความจำ ลดความเครียด
บทความจากต่างประเทศ
How To Decrease Inflammation‏
Alzheimer’s on the Rise: What You Can Do
ปฎิทิน
April 2024
Sun Mon Tue Wed Thu Fri Sat
 
1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
11
12
13
14
15
16
17
18
19
20
21
22
23
24
25
26
27
28
29
30
    
สมาชิก

สมัครสมาชิก | ลืมรหัสผ่าน

เบาหวาน

อ่าน 14484 | ตอบ 2

เบาหวาน (Diabetes mellitus หรือ Diabetes หรือ เรียกย่อว่า โรคดีเอ็ม, DM) เป็นโรคเรื้อรังที่รักษาไม่หาย ต้องได้รับการดูแลรักษาตลอดชีวิต ทั้งนี้เกิดจากการที่ในเลือดมีน้ำตาลสูงกว่าปกติ

เบาหวานเป็นโรคที่พบได้สูงในคนทุกอายุ และทั้งสองเพศ แต่จะพบได้สูง ขึ้นเมื่อสูงอายุ โดยทั่วโลกในปี คศ. 2000 พบผู้ป่วยเบาหวานสูงถึงอย่างน้อย 171 ล้านคน หรือ คิดเป็นประมาณ 2.8% ของประชากรโลก และคาดว่าผู้ป่วยจะเพิ่มมากขึ้นในทุกๆปี

โดยทั่วไป แบ่งเบาหวานได้เป็น 3 ชนิดหลัก คือ เบาหวานชนิด 1 (Diabetes mellitus type 1) เบาหวานชนิด 2 (Diabetes mellitus type 2) และเบาหวานในหญิงตั้งครรภ์ (Gestational diabetes mellitus)

  • เบาหวานชนิด 1 เกิดจากตับอ่อนสร้างฮอร์โมนอินซูลินได้น้อยผิดปกติ หรือสร้างไม่ได้เลย ผู้ป่วยจึงต้องได้รับการรักษาด้วยการฉีดยาอินซูลินตลอดชีวิต ดังนั้น จึง เรียกได้อีกชื่อหนึ่งว่า โรคเบาหวานชนิดต้องพึ่งอินซูลิน (Insulin-dependent diabetes mellitus) และเพราะเบาหวานชนิดนี้มักพบในเด็กและวัยรุ่น จึงเรียกได้อีกชื่อว่า โรคเบาหวาน หรือ เบาหวานในเด็กและวัยรุ่น (Juvenile diabetes mellitus) เบาหวานชนิดนี้ พบได้น้อยประมาณ 5% ของเบาหวานทั้ง หมด
  • เบาหวานชนิด 2 เป็นเบาหวานที่มักพบในผู้ใหญ่ อายุมากกว่า 40 ปีขึ้นไป โดยเฉพาะในคนอ้วน ดังนั้น จึงเรียกอีกชื่อว่า เบาหวานในผู้ใหญ่ (Adult onset diabetes mellitus) และเป็นเบาหวานที่ไม่จำเป็นต้องพึ่งอินซูลิน (Non- insulin-dependent diabetes mellitus) ซึ่งเบาหวานชนิดนี้พบได้สูงที่สุดประมาณ 90-95% ของโรคเบาหวานทั้งหมด ดังนั้น โดยทั่วไป เมื่อกล่าวถึงโรค เบาหวาน จึงมักหมายถึงโรคเบาหวานชนิดนี้
  • เบาหวานในหญิงตั้งครรภ์ พบได้ประมาณ 2-5% ของเบาหวานทั้งหมด กล่าวคือ เป็นโรคเบาหวาน ที่เกิดขึ้นเฉพาะในช่วงตั้งครรภ์เท่านั้น โดยมารดาไม่เคยเป็นโรคเบาหวานมาก่อนตั้งครรภ์

    อนึ่ง บทความนี้ จะกล่าวถึงเฉพาะ เบาหวานชนิด 2 เท่านั้น เนื่องจากเป็นโรคเบาหวานที่พบได้สูงที่สุด และต่อไปในบทความนี้ จะเรียกโรคเบาหวานชนิด 2 นี้ว่า โรคเบาหวาน หรือ เบาหวาน

เบาหวานเกิดได้อย่างไร?

การเกิดโรคเบาหวาน มีความสัมพันธ์กับฮอร์โมนที่สร้างจากตับอ่อน คือ ฮอร์โมนอินซูลิน (Insulin)

อินซูลินจะเป็นตัวนำน้ำตาล ซึ่งเป็นน้ำตาลกลูโคส (Glucose) จากเลือดเข้าสู่เซลล์ของอวัยวะต่างๆทั่วร่างกาย เช่น สมอง ตับ ไต และหัวใจ ทั้งนี้เพื่อให้เซลล์ต่างๆนำกลูโคสไปใช้เป็นพลังงานในการทำงานต่างๆของเซลล์ทุกชนิดทั่วร่างกาย หรือที่เราเรียกว่า การสันดาป หรือ เมตาโบลิซึม (Metabolism)

แต่เมื่อเกิดความผิดปกติต่างๆ เช่น ตับอ่อนสร้างอินซูลินได้น้อยกว่าปกติ หรือ เกิดความผิดปกติบางอย่างที่ทำให้เซลล์ไม่สามารถนำอินซูลินไปใช้ได้ถึงแม้ ตับอ่อนสร้างอินซูลินได้ตามปกติ ที่เรียกว่า เซลล์ดื้อต่ออินซูลิน (Insulin resistance) หรือเกิดทั้งสองเหตุการณ์พร้อมกัน จึงส่งผลให้มีน้ำตาลเหลือคั่งในเลือดสูงมากขึ้นกว่าปกติ ซึ่งเป็นสาเหตุให้เกิดอาการผิดปกติต่างๆขึ้น ซึ่งก็คือ โรค เบาหวานนั่นเอง

ทั้งนี้ สาเหตุที่ทำให้เกิดความผิดปกติเหล่านี้ขึ้นนั้นยังไม่ทราบชัดเจน แต่จากการศึกษาพบว่า เป็นกระบวนการที่ซับซ้อนซึ่งเกิดจากทั้งพันธุกรรม และวิถี ทางในการดำเนินชีวิต (Life style) ร่วมกัน

ใครบ้างมีปัจจัยเสี่ยงเป็นเบาหวาน?

ปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรคเบาหวาน ได้แก่

  • โรคอ้วนและน้ำหนักตัวเกิน ซึ่งส่งผลให้เซลล์ต่างๆดื้อต่ออินซูลิน
  • ขาดการออกกำลังกาย เพราะการออกกำลังกายจะช่วยควบคุมน้ำหนัก และช่วยให้เซลล์ต่างๆไวต่อการนำน้ำตาลไปใช้ หรือ ช่วยการเผาผลาญน้ำตาลในเลือดได้ดีนั่นเอง
  • พันธุกรรม เพราะพบว่า คนที่มีครอบครัวสายตรงเป็นเบาหวาน มีโอกาสเป็นเบาหวานสูงกว่าคนทั่วไป
  • เชื้อชาติ เพราะพบว่า คนบางเชื้อชาติเป็นเบาหวานสูงกว่า เช่น ในคนเอเชีย และในคนผิวดำ
  • อายุ ยิ่งอายุสูงขึ้น โอกาสเป็นเบาหวานยิ่งสูงขึ้น อาจจากการเสื่อมถอยของเซลล์ตับอ่อน หรือ ขาดการออกกำลังกายจากสุขภาพที่เสื่อมถอย
  • มีไขมันในเลือดสูง
  • มีความดันโลหิตสูง

เบาหวานมีอาการอย่างไร?

อาการหลักสำคัญของเบาหวาน คือ หิวบ่อย กระหายน้ำ และปัสสาวะปริมาณมากและบ่อย นอกจากนั้น เช่น

  • เหนื่อย อ่อนเพลีย
  • ผิวแห้ง คัน
  • อาการชาเท้า หรือ รู้สึกเจ็บแปลบที่ปลายเท้า หรือ ที่เท้า
  • ผอมลงโดยหาสาเหตุไม่ได้
  • เมื่อเกิดแผลในบริเวณต่างๆแผลมักหายช้ากว่าปกติ โดยเฉพาะแผลบริเวณเท้า
  • บางครั้งสายตาพร่ามัวโดยหาสาเหตุไม่ได้

แพทย์วินิจฉัยเบาหวานได้อย่างไร?

แพทย์วินิจฉัยโรคเบาหวานได้จาก ประวัติอาการ ประวัติการเจ็บป่วยต่างๆ ประวัติการเจ็บป่วยของคนในครอบครัว การตรวจร่างกาย และที่สำคัญ คือ การตรวจเลือดเพื่อดูปริมาณน้ำตาลในเลือด

ค่าปกติของน้ำตาลในเลือดหลังจากอดอาหารอย่างน้อยประมาณ 8 ชั่วโมง (Fasting Blood Sugar หรือ เรียกย่อว่า FBS) คือ น้อยกว่า 110 มิลลิกรัม/เดซิ ลิตร (มก./ดล.) หรือถ้าตรวจเลือดที่ 2 ชั่วโมงหลังแพทย์ให้กินน้ำตาลประมาณ 75 กรัม (Glucose tolerance Test หรือเรียกย่อว่า จีทีที/ GTT) ค่าน้ำตาลในเลือด น้อยกว่า 140 มก./ดล

เบาหวาน คือ ค่าน้ำตาลในเลือดหลังอดอาหาร สูงตั้งแต่ 126 มก./ดล. ขึ้นไป และ/หรือ ค่าจีทีที สูงตั้งแต่ 200 มก./ดล. ขึ้นไป

อาจมีการตรวจอื่นๆประกอบด้วย เช่น การตรวจปัสสาวะดูน้ำตาลในปัสสาวะซึ่งจะไม่พบในคนปกติ และการตรวจเลือดดูค่า สารที่เรียกว่า Glycated hemo globin หรือ ฮีโมโกลบินเอวันซี (Hb A1C) นอกจากนั้น คือ การตรวจเลือดเพื่อดูการทำงานของไต เพราะเบาหวานมักส่งผลต่อการเกิด โรคไตเรื้อรัง และการตรวจสุขภาพดวงตาโดยจักษุแพทย์ เพื่อเฝ้าระวัง ผลข้างเคียงของเบาหวานต่อจอตา หรือ ที่เรียกว่า เบาหวานขึ้นตา

รักษาเบาหวานได้อย่างไร?

แนวทางการรักษาโรคเบาหวาน ต้องควบคู่กันไประหว่างการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้ชีวิต การใช้ยา และการรักษา ควบคุมโรคร่วมต่างๆ หรือ โรคที่เป็นปัจจัยเสี่ยง

  • การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้ชีวิต คือ การลดน้ำหนัก ควบคุมน้ำหนัก ลดอาหารแป้ง น้ำตาล และไขมัน เพิ่มอาหารผัก และผลไม้ และออกกำลังกายสม่ำเสมอตามควรกับสุขภาพ
  • ส่วนการใช้ยา จะอยู่ในดุลพินิจของแพทย์ ซึ่งมีทั้งยากิน และยาฉีดอินซูลิน รวมทั้งยาต่างๆที่ใช้รักษาโรคร่วมต่างๆ เช่น การรักษาควบคุม โรคความดันโลหิตสูง และภาวะไขมันในเลือดสูง เป็นต้น

เบาหวานรุนแรงไหม? มีผลข้างเคียงอย่างไร?

เบาหวานเป็นโรคเรื้อรังที่จัดว่า รุนแรง เป็นโรคที่รักษาไม่หาย ซึ่งความรุน แรงของโรคขึ้นกับผลของการควบคุมโรคได้ คือ การควบคุมน้ำตาลในเลือดให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ หรือ ใกล้เคียงเกณฑ์ปกติที่สุด ดังนั้น ผู้ป่วยเบาหวานจึงต้องดูแล รักษา ควบคุมโรคตลอดชีวิต ซึ่งการจะควบคุมโรคได้ดี ผู้ป่วยต้องปฏิบัติตามแพทย์ พยาบาลแนะนำอย่างถูกต้อง เคร่งครัด และไม่ขาดยา

ผลข้างเคียงที่สำคัญของโรคเบาหวาน คือ เป็นสาเหตุการอักเสบของเนื้อ เยื่อต่างๆทุกชนิดในร่างกาย โดยเป็นการอักเสบที่ไม่ติดเชื้อ ซึ่งที่สำคัญ คือ การอักเสบของหลอดเลือด จึงส่งผลให้หลอดเลือดต่างๆตีบแคบลง ส่งผลถึงการขาดเลือดของเนื้อเยื่อ/อวัยวะต่างๆ จึงเกิดโรคต่างๆเป็นผลข้างเคียงตามมาได้ เช่น โรคหัวใจ โรคไตเรื้อรัง โรคหลอดเลือดสมอง และภาวะเบาหวานขึ้นตา

เมื่อเกิดแผล แผลต่างๆจะหายช้า โดยเฉพาะแผลบริเวณเท้า ซึ่งถ้าดูแลไม่ดี (การดูแลเท้าในโรคเบาหวาน) อาจถึงขั้นต้องตัดขา

โรคเบาหวานยังส่งผลให้ร่างกายมีภูมิคุ้มกันต้านทานโรคต่างๆลดลง ต่ำกว่าคนปกติทั่วไป จึงมีโอกาสติดเชื้อต่างๆได้ง่าย และมักรุนแรง จนถึงขั้นเสียชีวิตได้ ดังนั้นเมื่อมีการติดเชื้อ และมี ไข้สูง ผู้ป่วยทุกคนจึงควรรีบพบแพทย์ ภายใน 1-2 วัน ไม่ควรละเลยดูแลตนเองนานกว่านี้ นอกจากนั้น คือ ผลข้างเคียงจากยาเบาหวาน ที่สำคัญ คือ การเกิดภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ(Hypoglycemia) ซึ่งผู้ป่วยทุกคนต้องรู้จักดูแลตนเองเพื่อป้องกัน และเพื่อดูแลตนเองได้ถูกต้องเมื่อเกิดภาวะนี้ขึ้น

ดูแลตนเองอย่างไรเมื่อเป็นเบาหวาน? ควรพบแพทย์เมื่อไร?

การดูแลตนเอง และการพบแพทย์เมื่อเป็นโรคเบาหวาน ได้แก่

  • ปฏิบัติตามแพทย์ พยาบาลแนะนำ
  • กินยาให้ถูกต้องครบถ้วน ไม่ขาดยา
  • ควบคุมน้ำหนักให้ได้ ไม่ให้เกิด โรคอ้วนและน้ำหนักตัวเกิน
  • ควบคุมโรคร่วมต่างๆให้ได้
  • กินอาหารมีประโยชน์ห้าหมู่ จำกัด อาหาร แป้ง น้ำตาล ไขมัน เพิ่ม ผัก และผลไม้ กินอาหารในปริมาณใกล้เคียงกันทุกๆมื้อ เพื่อแพทย์จะได้แนะนำขนาดการใช้ยาได้ถูกต้อง ลดโอกาสเกิดผลข้างเคียงต่างๆจากการใช้ยา โดยเฉพาะภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ
  • รู้จักผลข้างเคียงจากยาเบาหวาน และการดูแลตนเอง ที่สำคัญ คือ ภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ
  • รักษา สุขอนามัยพื้นฐาน (สุขบัญญัติแห่งชาติ) เสมอ เพราะผู้ป่วยจะติดเชื้อต่างๆได้ง่าย จากเบาหวานเป็นสาเหตุที่ทำให้มีภูมิคุ้มกันต้าน ทานโรคลดลง
  • รักษาสุขภาพเท้าเสมอ (การดูแลเท้าในโรคเบาหวาน)
  • เลิกสูบบุหรี่ ไม่สูบบุหรี่ เพราะบุหรี่เพิ่มโอกาสเกิดผลข้างเคียงของโรคเบาหวาน จากเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้เกิดหลอดเลือดตีบตัน
  • เลิกสุรา ไม่ดื่มสุรา หรือ จำกัดสุราให้เหลือน้อยที่สุด เพราะสุรา อาจมีผลต่อยาที่ควบคุมโรคเบาหวาน และโรคต่างๆ ทำให้ควบคุมโรคต่างๆได้ยาก สุราทำให้ควบคุมอาหารลำบาก และเป็นสาเหตุให้เกิดภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ
  • ไม่ซื้อยากินเอง และไม่ใช้สมุนไพรเมื่อกินยาเบาหวาน เพราะอาจ ต้าน หรือ เพิ่มฤทธิ์ของยาเบาหวาน จนอาจก่อให้เกิดผลข้างเคียงจากยาเบาหวานที่รุนแรงได้ เช่น ผลต่อไต หรือ ภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ
  • ฉีดวัคซีนป้องกันโรคต่างๆตามแพทย์แนะนำ เช่น วัคซีน โรคไข้หวัดใหญ่
  • พบจักษุแพทย์สม่ำเสมอตามแพทย์เบาหวาน และจักษุแพทย์แนะนำ เพื่อการวินิจฉัย และการรักษาภาวะเบาหวานขึ้นตาแต่เนิ่นๆ ป้องกันตาบอดจากเบาหวาน
  • พบแพทย์ตามนัดเสมอ
  • รีบพบแพทย์ก่อนนัด เมื่อ
    • มีอาการต่างๆผิดปกติไปจากเดิม
    • อาการต่างๆเลวลงกว่าเดิม
    • มีไข้สูง และไข้ไม่ลงภายใน 2 วันหลังดูแลตนเอง หรือคลื่น ไส้ อาเจียน หรือ ท้องเสียมาก เพราะอาจก่อให้เกิดภาวะเลือดเป็นกรด ซึ่งอันตรายถึงชีวิตได้
    • กินอาหารได้น้อยกว่าปกติ
    • ภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ
    • เมื่อมีแผลในบริเวณเท้า และแผลไม่ดีขึ้นภายในประมาณ 1 สัปดาห์ แต่ควรรีบพบแพทย์ก่อนหน้านี้ เมื่อแผลเลวลง
    • เมื่อกังวลในอาการต่างๆ

ป้องกันเบาหวานได้อย่างไร?

การป้องกันเบาหวาน คือ การดูแลตนเอง เช่นเดียวกับที่ได้กล่าวแล้วในหัว ข้อ การดูแลตนเองเมื่อเป็นโรคเบาหวาน นอกจากนั้น คือ การตรวจคัดกรองโรค เบาหวานให้พบโรค และได้รับการควบคุม ดูแล รักษาแต่เนิ่นๆ ลดโอกาสเกิดผล ข้างเคียงต่างๆ

โดยทั่วไป แพทย์แนะนำให้ตรวจเลือดเพื่อดูน้ำตาลในเลือด เริ่มตั้งแต่อายุ 30 ปี เมื่อมีปัจจัยเสี่ยงดังกล่าวแล้ว หรือ ตรวจเลือดดูค่าน้ำตาลด้วย เมื่อพบว่ามีไขมันในเลือดสูง และ/หรือ มีความดันโลหิตสูง เพราะทั้ง 3 โรคนี้มักเกิดร่วมกันเสมอ เพราะอยู่ในกลุ่มโรคเดียวกัน คือกลุ่มโรคที่เกิดจากมีความผิดปกติในกระบวนการสันดาป หรือ เมตาโบลิซึมของร่างกาย (Metabolic syndrome) แต่ในคนปกติ การตรวจเลือดเพื่อดูค่าน้ำตาล ควรเริ่มที่อายุประมาณ 40 ปี

บรรณานุกรม

  1. Braunwald, E., Fauci, A., Kasper, L., Hauser, S., Longo, D., and Jameson, J. (2001). Harrison’s principles of internal medicine (15th ed.). New York: McGraw-Hill.
  2. Diabetes mellitus. http://en.wikipedia.org/wiki/Diabetes_mellitus [2011, Sept 28].
  3. Diabetes mellitus type 2. http://en.wikipedia.org/wiki/Diabetes_mellitus_type_2 [2011, Sept 28].
  4. Patel, P., and Macerollo, A. (2010). Diabetes mellitus: diagnosis and screening. Am Fam Physician. 81, 863-870.
ศาสตราจารย์เกียรติคุณ พญ. พวงทอง ไกรพิบูลย์ พบ.
วว. รังสีรักษาและเวชศาสตร์นิวเคลียร์

จาก http://haamor.com
นใจผลิตภัณฑ์ที่ช่วยควบคุมเบาหวาน  http://goodproduct.net/product/detail-19255.html
http://goodproduct.net/product/detail-45236.html
ความคิดเห็นของผู้เข้าชม
ชื่อผู้แสดงความคิดเห็น :
สถานะ : รหัสผ่าน :
ลิงค์ที่เกี่ยวข้อง :
รหัสความปลอดภัย :
 

ตรวจสอบสถานะ การจัดส่งของที่สั่ง ทางไปรษณีย์ แบบพัสดุ ลงทะเบียน และ EMS http://track.thailandpost.co.th/